ลักษณะของประชาธิปไตย

1. ประชาธิปไตยทางตรง

หรือเรียกว่าประชาธิปไตยบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยทางตรง โดยรูปแบบของรัฐที่ให้ประชาชนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง รวมไปถึงการร่างกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล ซึ่งการใช้ประชาธิปไตยทางตรงนี้สามารถใช้ในเชิงปฏิบัติได้ในเฉพาะสังคมขนาดเล็ก ๆ ที่มีสมาชิกจำนวนน้อย

ข้อดีข้อเสียประชาธิปไตยทางตรง

ข้อดี สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ สามารถแสดงเหตุผลและความคิดเห็นได้อย่างลึกซึ้ง

ข้อเสีย มีความล่าช้า สามารถนำมาใช้ในเชิงปฏิบัติได้เพียงในเฉพาะกลุ่มหรือสังคมเล็ก ๆ ไม่เหมาะ สำหรับการนำมาใช้ในกลุ่มสังคมขนาดใหญ่

วิธีใดบ้างที่เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรง

ในปัจจุบันการใช้รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรงเป็นรูปเพียงรูปแบบการปกครองที่ไม่แพร่หลาย วิธีปกครองแบบนี้อาจแบ่งได้เป็น ประชาธิปไตยทางตรงเอเธนส์ ประชาธิปไตยทางตรงสมัยใหม่ ซึ่งจะถูกใช้ในเมืองที่มีขนาดเล็กเท่านั้น ในปัจจุบันสามารถพบเห็นได้ในนครรัฐ และในสภาประชาชนกลางแจ้งในสวิตเซอร์แลนด์ 

ประชาธิปไตยทางตรงเอเธนส์

ประชาธิปไตยแบบเอเธนส์เป็นรูปแบบประชาธิปไตยซึ่งใช้ในสมัยกรีซโบราณ เป็นระบอบประชาธิปไตยทางตรงโดยใช้เสียงส่วนใหญ่ ไม่มีกฎหมายปกครองและไม่มีหลักนิติธรรม ไม่มีรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้ง หรือพรรคการเมือง ดังนั้นจึงทำให้การใช้เสียงส่วนใหญ่นี้ ก็อาจจะเป็นเสียงข้างมากที่ปราศจากคุณภาพเนื่องจากพลเมืองอาจถูกชักจูงได้ง่ายและไม่มีเหตุผล

2. ประชาธิปไตยทางอ้อม

เป็นประชาธิปไตยทางตรงสมัยใหม่หรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน ซึ่งจะเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยทางอ้อม เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกผู้แทนหรือตัวแทนเป็นผู้ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาแทนตนเนื่องจากประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิได้โดยตรง ซึ่งเหมาะสำหรับชุมชน หรือสังคมขนาดใหม่ มีประชากรมาก ปัญหาที่ต้องแก้ไขหรือเรื่องที่ตัดสินใจมีความสลับซับซ้อน ซึ่งลักษณะสำคัญของการปกครองด้วยตัวแทนคือ

  1. ประชาชนมอบอำนาจอธิปไตยของตนให้ตัวแทนไปใช้แทนตน
  2. การมอบอำนาจอธิปไตยต้องผ่านกระบวนการเลือกตั้ง
  3. ประชาชนสามารถเรียกคืนอำนาจได้หากผู้แทนใช้อำนาจนอกขอบเขตของกฎหมายหรือเพื่อประโยชน์ส่วนตัว

ข้อดีข้อเสียประชาธิปไตยทางอ้อม

ข้อดี การดำเนินการมีความรวดเร็วกว่าประชาธิปไตยทางตรง การใช้ตัวแทนจะทำให้มีการแก้ไขหรือ ตัดสินจึงมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากกว่า

ข้อเสีย   ไม่มีหลักประกันว่าการตัดสินใจของตัวแทนจะสามารถตอบสนองหรือแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้น จึงต้องมีการติดตามและตรวจสอบ เพื่อเป็นการป้องกันแนวโน้มที่จะเกิดการทุจริตของตัวแทน

3. ประชาธิปไตยกึ่งทางตรง 

เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยรูปแบบผสม ระหว่างรูปแบบประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางอ้อมมาใช้รวมกัน โดยที่ประชาชนยังสงวนสิทธิที่จะใช้อำนาจอธิปไตยทางตรงในบางเรื่อง ตัวอย่างเช่น การใช้อำนาจอธิปไตยทางอ้อมโดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สิทธิในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อใช้อำนาจแทนตน และ การใช้อำนาจอธิปไตยทางตรงโดยการให้ประชาชนใช้สิทธิเข้าในการเสนอชื่อกฎหมายเข้าสู่สภา สิทธิในหารออกเสียงประชามติ รวมไปถึงให้สิทธิในการถอดถอนตำแหน่งสำคัญของผู้บริหารหรือผู้ปกครองประเทศ 

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*