ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวาการเมืองไทย

การเมืองฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา คืออะไร

ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา Pantip เว็บบอร์ดได้มีการพูดถึงและระบุข้อมูลไว้ดังนี้ คำว่าการเมืองฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวาภาษาอังกฤษเรียกว่า left-right politics เป็นระบบจำแนกจุดยืน อุดมการณ์ทางการเมืองและพรรคการเมือง การเมืองฝ่ายซ้ายและขวามักจะถูกนำเสนอว่าขัดแย้งกัน แต่ในความเป็นจริงแนวคิดหรือจุดยืนของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มอาจมีจุดยืนฝ่ายซ้ายในประเด็นหนึ่งและมีจุดยืนฝ่ายขวาในอีกประเด็นหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำว่า ขวา ซ้ายในมุมมองทางการเมืองและเศรษฐกิจกิจนั้นได้ปรากฏครั้งแรกในยุคปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789 ซึ่งฝ่ายซ้ายจะเรียกว่า “ขบวนการเคลื่อนไหว” (Party of movement) และฝ่ายขวาจะถูกเรียกว่า “ขบวนการระเบียบ” (Party of order)  ซึ่งที่มาของการเรียกว่าฝ่ายซ้ายขวานั้นมาจากที่นั่งในที่ประชุมสมัชชาโดยที่กลุ่มที่สนับสนุนการปฏิวัติจะนั่งอยู่ทางฝั่งซ้าย และกลุ่มที่สนับสนุนกษัตริย์จะนั่งทางฝั่งขวา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่มีจุดยืนแบบเป็นกลางจะเรียกว่าสายกลาง (centrism) และบุคคลที่มีจุดยืนดังกล่าว เรียกว่า กลุ่มสายกลางหรือผู้เดินสายกลาง ซึ่งในบางครั้งคำว่าเป็นกลางนี้อาจไม่ได้มีความเป็นกลางแบบ100% อาจมีอุดมการณ์แบบซ้ายหรือขวาร่วมด้วย เช่น เยอรมันเอียงซ้าย

ซ้ายจัด และ ขวาจัด

นอกจากนี้ยังมีคำที่ไว้ใช้เรียกกลุ่มหรือคนฝ่ายซ้ายจัด ขวาจัด ภาษาอังกฤษว่า Leftist และ Rightist ซึ่งซ้ายจัดนั้นมีความหมายถึงการที่มีแนวคิดแบบซ้ายสุดโต่ง ซึ่งรวมไปถึงกลุ่มก้าวหน้า คอมมิวนิสต์ สังคมเสรีนิยม กรีน สังคมประชาธิปไตย  สังคมนิยม เป็นฝ่ายที่ไม่เอาระบบกษัตริย์ ปกครองสาธารณรัฐ และคัดค้านความไม่เสมอภาคของคนในสังคม ต่อต้านระบบนายทุน ความเชื่อ ศาสนา และเชื่อมันในความเท่าเทียมของมนุษย์แต่อย่างไรก็ตามในฝ่ายนี้จะไม่ได้ให้ความสำคัญกับคน แต่จะเน้นโครงสร้างเป็นแนวคิดสำคัญของคอมมิวนิสต์ ส่วนฝ่ายขวาจัดนั้นหมายถึงการมีความคิดหรืออุดมการณ์ในทางขวาแบบสุดโต่ง เช่น กลุ่มอนุรักษ์นิยม ชาตินิยม เน้นการปกครองมีกษัตริย์เป็นประมุขและมีเผด็จการเป็นอำนาจนิยม เผด็จการทหารก็ถือเป็นขวาจัดเพราะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบใหม่

ฝ่ายซ้ายไทย และฝ่ายขวาจัด ไทย

ในประเทศไทยคำว่าฝ่ายซ้ายจะไว้ใช้เรียก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ส่วนคำว่าฝ่ายขวาจัดไทยจะหมายถึงพวกอนุรักษ์นิยมซึ่งเป็นรัฐบาลทหาร และกลุ่มต่าง ๆ ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ในปัจจุบันหากพิจารณาจากสถานการณ์และในทางอุดมการณ์ของพรรคการเมือง และการเข้าร่วมของทหารกับพรรครัฐบาล เราพอจะกล่าวโดยประจวบเหมาะหรืออนุโลมได้ว่า พรรคร่วมรัฐบาลเป็นพรรคฝ่ายขวา และพรรคร่วมฝ่ายค้านเป็นพรรคฝ่ายซ้าย เพราะมีบุคลากรของรัฐบาลเป็นตัวแทนของฝ่ายขวาอยู่มาก และบุคลากรของพรรคฝ่ายค้านก็เป็นตัวแทนฝ่ายซ้ายอยู่มากเช่นกัน นอกจากนี้นโยบายของพรรคทั้งสองฝ่ายก็ยังสามารถบอกถึงความเป็นขวาและซ้ายได้เช่นกัน

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*