เพราะจุดเริ่มต้นประชาธิปไตย ในหลวง ร.5 เป็นสิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นหนึ่งในองค์ความรู้ที่หลายคนพยายามค้นหาอย่างจริงจังและเข้มข้น หลายคนจึงมักสงสัยว่าประชาธิปไตย ในหลวง ร.5 มีจุดเริ่มต้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ในหลวง ร.5 ทรงเริ่มคิดค้นโดยผ่านกระบวนการทางด้านยุทธศาสตร์ความคิดเป็นอย่างไร หรือเอาต้นแบบมาจากไหน เราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ มักเป็นเรื่องราวที่หลายคนอยากรู้ไม่น้อยเลยทีเดียว โดยวันนี้เราก็มีเรื่องราวน่าสนุกและได้ความรู้เกี่ยวกับ ประชาธิปไตย ในหลวง ร.5 ฉบับเข้าใจง่ายๆ มาฝากทุกคนกันค่ะ
จุดเริ่มต้นประชาธิปไตยในหลวง ร.5 เกิดขึ้นอย่างไร ?
มีฉนวนเหตุมาจากการที่ในหลวง ร.5 ถูกท้าทายอำนาจให้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง ในปี 2427 โดยพระราชวงศ์และขุนนางรวม 11 คน กราบบังคมทูล เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบราชการแผ่นดินเป็นระบบ “คอนสติตูชาแนลโมนากี” หรือการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพื่อลดทอนอำนาจของพระองค์ สู่การแบ่งปันอำนาจให้เสนาบดี ข้าราชการผู้ใหญ่เป็นผู้มีอำนาจ ซึ่งจะเป็นตัวแทนของประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ จึงเป็นที่มาของพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน หลังจากการถวายฏีกา 3 ปี ของคณะผู้ถวายความเห็นฯ ซึ่งคล้ายกับการประชุมร่วมกันในปัจจุบัน โดยพระองค์ท่านทรงมีแนวคิดว่าการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองจะต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลกระทบกับบ้านเมืองน้อยที่สุดและอยากให้ระบบบ้านเมืองมีความมั่นคงในการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน เพราะในขณะนั้นการสรรหาบุคคลที่มีประสิทธิภาพมาทำงานในสภานิติบัญญัติ คงเป็นเรื่องที่ยากมาก
การเลิกทาสเกี่ยวข้องอย่างไรกับประชาธิปไตยในหลวง ร.5 ?
พระองค์ทรงประกาศเลิกทาส เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2417 ซึ่งจะเห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนที่คณะผู้ถวายความเห็นฯ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกคอง ในปี 2427 นั่นเป็นพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีสายตากว้างไกล และมองศักดิ์ศรีมนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน ซึ่งหลายคนคงไม่เคยทราบว่าพระองค์ทรงปลอมตัวไปเป็นประชาชนคนธรรมดาที่ไปนั้งกินข้าวกับชาวบ้าน ค่ำไหนนอนนั้น มีมิตรสหายเป็นชาวบ้านธรรมดา โดยใช้หลักเมตตาธรรม จึงรับรู้ถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับประชาชนของพระองค์ รวมทั้งการเสด็จประพาสต่างประเทศ เพื่อนำความเจริญมาสู่สยาม และลดทอนการไล่ล่าอาณานิคมของพวกผิวขาวที่อ้างตนว่าจะสร้างความศิวิไลซ์มาสู่ประเทศป่าเถื่อน
โดยทั้งหมดพระองค์ทรงวางแผนอย่างมีวิสัยทัศน์และมองการณ์ไกลไม่ต่างกับ CEO ชั้นนำของโลกที่มุ่งนำพาองค์กรไปสู่จุดสูงสุดที่นานาประเทศยอมรับประเทศจึงถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งระบบราชการการศึกษาสาธารณสุข ระบบขนส่งการสร้างทางรถไฟหลวง และระบบประชาธิปไตยนั่นเอง
Be the first to comment