ช่วงการปกครองในสมัยรัชการเป็นช่วงที่วัฒนธรรมจากตะตกเริ่มเข้ามามอิทธิพลในประเทศ ดังนั้นจึงส่งผลให้เกิดการปฏิรูปบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ
การปฏิรูปบ้านเมืองใน สมัยรัชกาลที่๕ แบ่งเป็นกี่ระยะอะไรบ้าง
แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การปฏิรูประยะแรก และการปฏิรูประยะหลัง
การปฏิรูปประเทศระยะแรก
การปฏิรูปประเทศในระยะแรก รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงแต่งตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ซึ่งศภาทั้งสองนี้มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย รวมไปถึงยกเลิกประเพณีโบราณต่าง ๆ ไม่เห็นว่าไม่เหมาะกับสังคมสังคมในสมัยนั้น แต่สภาทั้ง 2 ปฏิบัติงานได้ไม่นานก็ต้องยุติหน้าที่ลงเนื่องจากวิกฤติการณ์วังหน้า
การปฏิรูปประเทศระยะหลัง
รัชกาลที่ 5 ได้ทรงตระหนักถึงภยันอันตรายของจากล่าอาณานิคมของประเทศโลกตะวันตก และทรงเห็นว่าการปกครองในแบบเดิมของไทยนั้นมีความล้าสมัยไม่สอดคล้องกับความเจริญของบ้านเมือง จึงส่งผลให้เกิดการปฏิรูปการปกครอง 2435 โดยใน พ.ศ. 2430 ได้มีการเริ่มแผนการปฏิรูปการปกครองขึ้นตามแบบแผนของตะวันตก ในส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ต่อได้เปลี่ยนมาใช้คำว่ากระทรวงแทนโดยสถาปนาขึ้นในวันที่ 1 เมษายน 2435 และยังได้มีการประกาศแต่งตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงแต่ละกระทรวงขึ้น และยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่งต่อจากนั้นก็ได้มีการยุบกระทรวงเหลือเพียง 10 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระกรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัง กระทรวงเมือง(นครบาล) กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ
การปฏิรูปบ้านเมืองสมัย ร.๕ ด้านเศรษฐกิจ
การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จนส่งผลให้เกิดการปฏิรูปทางด้านเศรษฐกิจ ดังนี้
- มีการปรับตัวให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อให้หลุดพ้นจากการคุกคามจากประเทศตะวันตกด้วยเหตุผลว่าเป็นประเทศที่มีความล้าหลัง ดังนั้นในการปฏิรูปบ้านเมืองให้มีความทันสมัยนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้เงินทุนอย่างมาก
- มีการปฏิรูปการคลัง เนื่องด้วยปัญหาทางด้านการคลังที่จะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปทางด้านอื่น ๆ และปัญหาในเรื่องความล้าสมัยไม่สามารถตรวจสอบได้ของการคลัง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปโดยมีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ซึ่งเป็นที่เก็บรวบรวมพระราชทรัพย์ เป็นที่รวมงานการเก็บภาษีอากรและแจกจ่ายภาษีนั้นไปยังกรมกองต่าง ๆ มีการจัดทำงบประมาณ มีการแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และส่วนของแผ่นดิน และมีการปฏิรูประบบเงินตรา
การปฏิรูปบ้านเมืองสมัย ร.๕ ด้านสังคม
เนื่องในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปทางด้านต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยขึ้น จึงผลให้เกิดการปฏิรูปทางด้านสังคมด้วยเช่นกันคือการยกเลิกทาส โดยแผนการปฏิรูปสังคมในเรื่องของการเลิกทาสนั้นก็ได้มีการออกประกาศพระราชบัญญัติต่าง ๆ ในการยกเลิกทาส เช่น การมีธงประจำชาติครั้งแรก การออกประกาศพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสไทย นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องขนบประเพณีในบางเรื่องอีกด้วย เช่น ประเพณีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ซึ่งเดิมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการจะเป็นผู้ถือน้ำและสาบานตน เปลี่ยนเป็นพระมหากษัตริย์เป็นผู้เสวยน้ำและสาบาน
Be the first to comment